ปัญหาเรื่องแสงกับกล้องวงจรปิด
ความสว่างเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อภาพที่กล้องวงจรปิดจับได้ แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการบันทึกภาพจะพัฒนาแล้วมีฟังก์ชันเสริมอย่าง Auto Electronic Shutter (AES) ที่ควบคุมการทำงานของ Electronic Shutter ผ่านซอฟต์แวร์ในตัวคอนโทรลเลอร์ให้ปรับแสงแบบอัตโนมัติจนได้ภาพที่มีความสว่างเหมาพอดี ฟังก์ชันนี้ถือเป็นพื้นฐานของกล้องสีที่มีขายตามตลาดในปัจจุบัน
ปกตินั้นกล้องวงจรปิดทำงานได้ในช่วงความสว่างที่ 5lux ถึง 2000lux นอกเหนือจากนี้จะเป็นกล้องที่มีวัตถุประสงค์พิเศษเฉพาะ อย่างกล้องที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยสูงจะอาศัยแสงสว่าง 0.1 lux เป็นอย่างต่ำในการทำงาน และยังมีกล้องที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยชนิดพิเศษซึ่งสามารถจับภาพในบริเวณที่มีแสงน้อยมากจนถือว่ามืดสนิท ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นอะไรเลย กล้องชนิดนี้ต้องการความสว่างเพียง 0.0001 lux เท่านั้น
นอกจากปัญหาแสงน้อยก็ยังมีปัญหาแสงมากเกินไป ซึ่งแก้ไขได้ด้วยฟังก์ชั่น Back light compensation(BLC) ที่มากับฟังก์ชัน Auto gain control (AGC) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปรับลดแสงที่ตัวกล้องได้รับมากจนเกินไปจนทำให้ภาพที่ออกมามืด มองไม่เห็น ที่หลายคนเรียกว่าภาพย้อนแสง ทั้ง 2 ฟังก์ชันจะแบ่งกันทำงานกันออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือส่วนของ BLC ที่คอยลดแสงที่ได้รับให้มีค่าน้อยที่สุดเพื่อให้มองเห็นภาพวัตถุที่อยู่บริเวณหน้ากล้อง แต่ฟังก์ชันนี้ก็ยังมีข้อเสียในการลดแสงได้เพียงบริเวณหน้ากล้องเท่านั้น แล้วแสงจะถูกกระจายไปอยู่บริเวณขอบภาพทั้งหมด จึงต้องอาศัยฟังก์ชัน AGC ที่จะเข้ามาช่วยทำงานในการเฉลี่ยความสว่างของแสงให้มีความเท่ากันตลอดทั่วทั้งภาพจนกลายเป็นภาพที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
เกี่ยวกับปัญหาการรับแสงมากเกินของตัวกล้อง แม้จะมีออปชันเสริมที่มีประสิทธิภาพแต่ก็สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีลิมิตระดับหนึ่ง จึงต้องช่วยลดการทำงานของตัวกล้องให้ได้มากที่สุด จะต้องพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกใช้ตัวเลนส์ วัสดุ ไปจนถึงการออกแบบติดตั้งกล้องวงจรปิดในมุมพอเหมาะ ไม่แหงนมากเกิน ต้องเลือกทิศให้เหมาะสมกับการโคจรของดางอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปตามเวลา และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยร่วมอื่น กรณีของประเทศไทยสิ่งที่มักสร้างปัญหาคือความชื้นและความร้อน เรื่องความชื้นแก้ไขได้โดยใช้กล้องที่ออกแบบให้กันน้ำ แต่เมื่อเลือกกล้องกันน้ำก็ต้องเจอปัญหาเรื่องการระบายความร้อนที่จัดการได้ยากเพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงเกิดความร้อนสะสมได้ง่าย แล้วผลที่ตามมาคือการประมวลผลมีประสิทธิภาพที่ลดลง อาจจะแก้ปัญหาโดยการติดกล้องไว้ในจุดที่มีอากาศเย็นแล้วใช้การซูมเข้าช่วย หรือใช้กล้อง 2 ตัวแล้วแบ่งการทำงานกันอย่างชัดเจน