ส่วนประกอบของกล้องวงจรปิด ตอน เลนส์

เลนส์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของกล้องวงจรปิด ทำหน้าที่รับแสงแล้วสะท้อนไปยังมุมตกกระทบที่กำหนดไว้ เพื่อให้เซ็นเซอร์รับภาพประมวลผลสัญญาณแสงดังกล่าวให้เป็นสัญญาณดิจิตอลที่ทำงานได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การเลือกใช้ เลนส์ มักจะถูกมองข้ามเพราต้องใช้เวลามากในการศึกษาถึงหลักการทำงานเชิงลึก ต้องใช้ความรู้ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ในการทำความเข้าใจ ทำให้บางคนมองว่าเป็นเรื่องพื้นฐานมากเกินไป

เลนส์ ที่นิยมใช้กับกล้องวงจรปิดในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 4 รูปแบบด้วยกัน คือ NO IRIS, AUTO IRIS, MANUAL IRIS และ ZOOM ซึ่งแต่ละชนิดก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรจะเลือกใช้ให้เหมาะสมเพื่อให้อุปกรณ์แสดงประสิทธิภาพได้สูงสุด

เลนส์ NO IRIS ประดิษฐ์ขึ้นในยุคเริ่มแรก มีความสามารถในการปรับความคมชัดของภาพได้เพียงอย่างเดียว มีจุดเด่นในเรื่องของราคาถูก เพราะเป็นเทคโนโลยีเก่า เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณน้อย

เลนส์ AUTO IRIS และ MANUAL IRIS ถูกพัฒนาต่อจากเลนส์ NO IRIS อาศัยการควบคุมร่วมกับระบบสมองกลฝั่งตัว มีความสามารถในการปรับความคมชัดของภาพและยังปรับการรับแสงได้ดี เหมาะกับการใช้งานในสถานที่ ที่แสงมีการเปลี่ยนแปลง ในการใช้งานทั่วไปแนะนำให้ใช้เป็น AUTO IRIS ไปเลยจะดีที่สุด เพราะสามารถปรับความคมชัดและแสงสว่างได้อัตโนมัติ แต่การใช้งานบางประเภทที่มีความเฉพาะ เช่นโกดัง เก็บของ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องแลปทดลอง ที่มีการควบคุมความสว่างก็ควรใช้ MANUAL IRIS จะดีกว่า เพราะผู้ใช้อาจสามารถปรับจูนการบันทึกภาพให้เข้ากับความต้องการของตนเองได้

เลนส์ ZOOM เป็นเลนส์ที่อาศัยการทำงานของระบบสมองกลฝังตัวในการปรับระยะห่างของกลไกการสะท้อนแสงภายใน เพื่อดึงภาพในระยะไกลให้มีความคมชัด เลนส์ ชนิดนี้มักจะถูกใช้งานในกล้องอัจฉริยะประเภทปรับมุมมองและตำแหน่งในการสังเกตได้ อย่าง SpeedDome ที่หันไปมาหรือเลือกดูเฉพาะจุดที่สนใจเป็นพิเศษได้

แม้ว่าเลนส์ประเภทต่าง ๆ จะมีการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน การที่จะได้เลนส์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมองไปถึงระดับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเจียระไน การอบ วัสดุที่ใช้ทำตัวเลนส์ งานประกอบ ซอฟต์แวร์ควบคุม ตลอดถึงกรรมวิธีอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้ความแม่นยำสูง ในปัจจุบันนี้กล้องวงจรปิดทำงานโดยอาศัยการความสามารถของอุปกรณ์ส่วนอื่นช่วยปรับค่าสี ปรับแสง และโฟกัส จนได้ภาพตามต้องการ เช่น CCTV อินฟราเรด ที่สามารถบันทึกภาพในที่ ที่มีแสงน้อยได้ดีโดนอาศัยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในความถี่จำเพาะให้ตกกระทบกับวัตถุ แล้วนำค่าที่อ่านได้ไปประมวลผลผ่านอัลกอริทึมของซอฟต์แวร์จนเกิดเป็นภาพที่มองเห็นได้

Similar Posts