ประโยชน์ของเดินสายแบบร้อยท่อ
เดินสายแบบร้อยในท่อดีอย่างไร ?
การเดินสายไฟ(ติดตั้งสายไฟฟ้า)นั้นมีหลายแบบ เช่น เดินลอย เดินสายเปลือย ตีกิ๊ฟ กรีดผนังฝังท่อ เดินท่อลอย
ไล่ไปไล่มา เยอะเหมือนกัน
แต่ที่แน่ๆ ในระบบไฟฟ้าในอาคารหรือสถานที่ที่สำคัญๆเช่นโรงพยาบาล โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่พัก จะสังเกตเห็นว่าในการเดินสายไฟฟ้านั้นมีให้เห็นทุกที่
ข้อดีของการเดินสายร้อยท่อ
- ช่วยป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดเช่น กันสัตว์กัดแทะ จนทำให้เกิดความสายหาย
- เพื่อความสวยงาม ซ่อนสายไฟฟ้า ไม่ให้รกหูรกตา
- สามารถป้องกันไฟไหม้ได้เนื่องจาก เกิดกรณีการลัดวงจร ประกายไฟจะถูก จำกัดให้อยู่ภายในท่อ ไม่ให้ออกมาติดไฟกับสิ่งของข้างนอกท่อ
ข้อเสียของการเดินสายร้อยท่อ
- ใช้เวลาเยอะกว่าเดินสายเปลือย
- ใช้งบเยอะกว่า
- ซ่อมหรือเพิ่มสายไฟ ยากกว่า
ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) มีประเภทใดบาง
ท่อโลหะ
- ท่อโลหะขนาดบาง (EMT, Electrical Metallic Tubing) มีขนาด 1/2 – 2 นิ้ว ใช้เดินลอยภายในอาคาร หรือฝังในผนังได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต
- ท่อโลหะขนาดกลาง (IMC, Intermediate Conduit) มีขนาด 1/2 – 4 นิ้ว ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร หรือฝังในผนัง และพื้นคอนกรีตได้
- ท่อหนาพิเศษ (RSC, Rigid Steel Conduit) มีขนาด 1/2 – 6 นิ้ว ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร หรือฝังในผนัง และพื้นคอนกรีตได้ เช่นเดียวกับท่อ IMC แต่จะแข็งแรงมากกว่า
- ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอได้ เหมาะสำหรับต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า
- ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ (Raintight Flexible Metal Conduit) เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ใช้สำหรับต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าในที่ที่มีความชื้น เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ
ท่อพลาสติก
- ท่อพีวีซี (PVC, Polyvinyl Chloride) เป็นท่อผลิตจากวัสดุ PVC มีคุณสมบัติทนความชื้น ไม่ขึ้นสนิม ทนความร้อนได้ 60 องศา มีสองสีคือ สีเหลือง เหมาะกับการเดินท่อฝังในผนัง และสีขาว เหมาะกับการเดินท่อลอยเนื่องจากทาสีทับได้ง่าย
- ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) เป็นท่อที่มีความอ่อนตัวพอสมควร และมีความแข็งแรงสูง ใช้เดินสายภายนอกอาคาร และสายใต้ดิน
- ท่อ EFLEX เป็นท่อที่มีลักษณะเป็นปล้องๆ มีความอ่อนตัว โค้งงอได้ คล้ายท่อโลหะอ่อน